เมทัลชีทแบบไหน ใช้แล้วไม่ร้อน หลายคนอาจจะสงสัยว่า
เป็นไปได้หรือเปล่าที่เมทัลชีทจะไม่ร้อนและไม่ส่งเสียงดังให้เป็น
ที่รำคาญใจ หากท่านที่เคยใช้หลังคาเมทัลชีทก็คงจะ
มีประสบการณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า เมื่อเราใช้เมทัลชีท
แผ่นเปล่าไปติดตั้งอาคาร ความร้อนที่วิ่งผ่านลงมากระทบ
ผิวสัมผัสจะมีมาก ทำให้รู้สึกได้ถึงไอความร้อน
ทั้งนี้ ไม่เพียงแค่ “ความร้อน” เท่านั้นที่เป็น
ความท้าทายให้กับผู้ใช้งาน
หลังคาเมทัลชีท “เสียงดัง” ก็เป็นอีกเรื่อง
ที่ต้องนำมาพิจารณา
เมทัลชีทที่ใช้มักจะส่งเสียงดังเมื่อโดนความร้อน และจะดังเป็นพิเศษเมื่อกระทบกับเม็ดฝน สาเหตุเรื่องเสียงดังนี้เป็นเพราะคุณสมบัติติดตัวของเมทัลชีททั่วโลกที่ทำจากเหล็กเป็นพื้นฐาน เมทัลชีทจะดูดและคายความร้อนได้ดีกว่ากระเบื้อง ทำให้เกิดการขยายและหดตัวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิระหว่างวัน เมื่อเกิดการเปลี่ยแปลงอุณหภูมิย่อมทำให้เกิดการดีดตัวจึงทำให้เกิดเสียงดังทั้งกลางวันและกลางคืน แต่กลางวันจะอาการหนักกว่าเพราะมีการเปลี่ยนแปลอุณหภูมิมากกว่ากลางคืน
ไม่ว่าเมทัลชีทจะหนาหรือบาง ความสามารถในการดูดและคายความร้อนก็ยังคงอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
วิธีที่จะทำให้เมทัลชีทลดความร้อนและลดเสียงดังน่ารำคาญลง สามารถทำได้ 2 ทางคือ
ใช้เมทัลชีทเคลือบสี
เมทัลชีทแบบธรรมดาจะมีอุณหภูมิใต้แผ่นสูงกว่าเมทัลชีทเคลือบสี เนื่องจากสีที่เคลือบแผ่นเมทัลชีท นอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว ยังทำหน้าที่เหมือนแผ่นฟิลม์ที่เคลือบไม่ให้แผ่นเหล็กโดนความร้อนจากดวงอาทิตย์โดยตรงวิธีนี้พอจะช่วยให้บ้านเย็นขึ้นได้เล็กน้อยแต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องเสียงได้
ติดฉนวนกันความร้อน
การติดฉนวนกันความร้อน ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ความร้อนและเสียงจะถูกซับไว้ที่ฉนวน ทำให้การส่งผ่านอุณหภูมิใต้หลังคาลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
ทั้งนี้ ในปัจจุบันยังไม่มีเมทัลชีทชนิดไหนที่สามารถป้องกันความร้อนและเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 100%
เพราะคนเราจะรู้สึกสบายตัวเมื่ออุณหภูมิอยู่ประมาณ 25 องศาเซลเซียส ที่ความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 40% RH – 60% RH และจะเริ่มรู้สึกร้อนเมื่ออุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ที่ความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 40% RH หรือเมื่อมีอุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียส ที่ความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 60% RH แต่อุณหภูมิใต้แผ่นเมทัลชีทแบบไม่หุ้มฉนวนจะสูงกว่านั้น การใช้เมทัลชีทร่วมกับฉนวนจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้